เมนู

อุคคหนิมิต ดังนี้. บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า ญาณํ ได้แก่
อาสวักขยญาณ. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปญฺญาจกฺขุ อนุตฺตรํ
ปัญญาจักษุ เป็นจักษุยอดเยี่ยม. บทว่า ยสฺส จกฺขุสฺส ปฏิลาภา ความว่า
บุคคลย่อมพ้น คือหลุดพ้นจากวัฏฏะทั้งปวงได้ ด้วยภาวนา เพราะปัญญาจักษุ
ที่ประเสริฐใดเกิดขึ้น.
จบอรรถกถาจักขุสูตรที่ 2

3. อินทริยสูตร


ว่าด้วยอินทรีย์ 3 ประการ


[240] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 3 ประการนี้ 3 ประการเป็นไฉน ?
คือ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ 1 อัญญินทรีย์ 1 อัญญาตาวินทรีย์ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 3 ประการนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ปฐมญาณ (อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์)
ยอมเกิดขึ้นแก่พระเสกขะผู้ยังต้องศึกษาอยู่

ผู้ปฏิบัติตามทางอันตรง ในเพราะความ
สินกิเลส พระอรหัต (อัญญินทรีย์) ย่อม
เกิดขึ้นในลำดับแห่งญาณนั้น ญาณ (คือ
ปัจจเวกขณะ) ย่อมเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ
(อัญญาตาอินทรีย์) ผู้พ้นวิเศษแล้ว ผู้คง
ที่ ต่อจากพระอรหัตนั้นว่า วิมุตติของเรา
ไม่กำเริบเพราะความสิ้นไปแต่งกวสังโยชน์
ถ้าว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ ผู้ระงับ
แล้ว ยินดีแล้วในสันติบทไซร้ บุคคลนั้น
ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ย่อมทรงไว้
ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบอินทริยสูตรที่ 3

อรรถกถาอินทริยสูตร


ในอินทริยสูตรที่ 3 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อินฺทฺริยานิ ความว่า ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็น
ใหญ่ยิ่ง อธิบายว่า ธรรมชาติเหล่าใด เป็นประหนึ่งว่าเป็นใหญ่ในสหชาตธรรม
ทั้งหลาย อันสหชาตธรรมเหล่านั้นจะต้องคล้อยตาม ธรรมชาติเหล่านั้นชื่อว่า
อินทรีย์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า